วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อาณาจักรอินคา

ความเป็นมา
     อาณาจักรอินคาเมืองบคุสโซ ประเทศเปรู ใกล้ๆ เมืองคุสโซ ภูมิประเทศแสนกันดารยากจะเข้าถึง เป็นยอดสูงมีบริเวณรอบ ๆรวมแล้วความสูงของหน้าผาประมาณ 304.8เมตร (1,000 ฟุต) ฮิแรมบิงแฮม นักสำรวจชาวอเมริกัน ไปพบมาจุ ปิคชุ ในปี ค.ศ. 1911บริเวณนั้นเป็นป่าใหญ่คลุมพื้นที่อยู่นอกจากสิ่งก่อสร้างปรักหักพังบางส่วนที่โผล่อยู่ให้เห็นสิ่งก่อสร้างดังกล่าวบ่งบอกให้เห็นความสามารถยอดเยี่ยมเชิงสถาปัตยกรรมของชาวอินคาในอดีตที่ปรากฎก็มีโบสถ์วิหารอ่างหินสำหรับเก็บน้ำบันไดหินเป็นพัน ๆ ขั้น เพือเป็นทางทอดระเบียงลงไปในที่ต่าง ๆ แห่งนครผู้เขานี้ 
    เรื่องราวการพิชิตอาณาจักรอินคาเริ่มจากปีค.ศ.1532 เกิดการต่อสู้วิวาทของชาวพื้นเมือง เปิดโอกาสให้ ฟรานโกปิซาโร นักผจญภัยชาวสเปน จับหัวหน้าเผ่าอินคาชื่อ อตา ฮวลปา ไว้บังคับให้บอกที่ซ่อนทองพอรู้เรื่องก็ปล้นยึดเอาไปจากอาณาจักรอินคาแต่เป็นชัยชนะระยะสั้น ได้เกิดการสู้รบระหว่างนักผจญภัยชาวสเปนคนอื่น ๆ และปิซาโร ลงท้ายด้วยปิราโซกับพวกจำนวนมากได้ถูกสังหารพวกชาวพื้นเมืองพยายามตีโต้ขับไล่พวกสเปนจากภูเขาที่มั่นคงแข็งแกร่งแห่งมาจุ ปิคชุ 
     หลังจากพวกอินคาได้ลุกฮือขึ้นต่อสู้ได้มีการตั้งผู้ปกครองคือมานโค คาแปค ก็ทำอะไรไม่ได้มากนัก สมัยมานโคที่ 2ชาวพื้นเมืองได้รวมตัวกันก่อสงครามเบ็ดเสร็จขับไล่พวกสาเปนจากภูเขาอันเป็นที่มั่นรบกันไม่นานฝ่ายสเปนกลับได้เปรียบพวกชาวพื้นเมืองเผ่าอินคาถูกสังหารล้มตายลงราวกลับใบไม้ร่วง จนในที่สุดแม้ตัวมานโค ผู้เป็นหัวหน้าก็ตายในที่รบ 

ผังเมืองของอาณาจักรอิน
              ทิศตะวันออกเฉียงใต้มีที่ประทับสำหรับกษัตริย์
               ทิศเหนือมีที่ประทับของผู้ว่าการประจำเมืองและมีถนนหลัก
               ออก    
ทิ            ทิศใต้มีจุดรับข่าวสารครีปูใจกลางเมืองจะเป็นจัตุรัสหรือท
               เรียกว่าพลาซ่า                  
ทิ            ทิศตะวันตกเฉียงใต้จะมีที่เก็บเสบียงอาหา
               ทิศตะวันตกเฉียงเหนือจะเป็นที่พักของบรรดาช่างฝีมือ 
 ช ชนชั้นทางสังคม
           บุคคลระดับสูงสุด คือ องค์จักรพรรดิและจักรพรรดินี
       กลุ่มนักบวชชั้นสูงสุดและผู้บัญชาการกองทัพสูงสุด
       กลุ่มผู้บริหารระดับสูงทั้งสี่หรือที่เรียกว่า เอปัช
       กลุ่มผู้บริหารชั้นพิเศษ เช่น กลุ่มคณะลูกขุน กลุ่มสถาปนิก
       กลุ่มช่างฝีมือหรือเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเฉพาะทาง เช่น ช่างโลหะ ช่างไม้
  กลุ่มประชาชนทั่วไป 
การแต่งกายของชนเผ่าอินคา
ชนเผ่าอินคาแต่งกายด้วยเสื้อผ้าต่างๆตามสถานภาพและตำแหน่งในสังคม รูปแบบการ แต่
กายเป็นแบบเรียบเหมือนกันสำหรับข้าราชบริพารฝ่ายชายนิยมสวมเสื้อคลุมรัดเอวเหนือ
เข่า และสวมเสื้อคลุมทับอีกชั้นหนึ่ง ส่วนสุภาพสตรีแต่งกายด้วยเสื้อคลุมยาวเลยเข่าลงมา
มีผ้าคาดเอว


กฎหมายอาชญากรรมและบทลงโทษ
ชาวอินคาทั่วทั้งอาณาจักรทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดเนื่องจากพวกเขาได้รับบริการหรือสิ่งที่ต้องการและจำเป็นต่อชีวิตแทบทุกอย่างด้วยเหตุนี้ตามชุมชนต่างๆจึงไม่มีผู้ร้ายเท่าใดนัก ที่น่าประหลาด ก็คือ ทั่วทั้งอาณาจักรไม่มีคุกตะรางขังนักโทษความผิดที่นับว่าร้ายแรงที่สุดคือการฆาตกรรมซึ่งนับว่าเป็นการละเมิดกฎหมายและสบประมาทเทพเจ้า ผู้กระทำจะถูกลงโทษจนสิ้นชีวิตอย่างโหดเหี้ยมเช่นวิธีทีมักปฏิบัติก็คือถูกจับโยนตกลงไปจากหน้าผา สูงชัน ทำให้ศพกระทบหินเบื้องล่างแหลกละเอียด
ศาสตร์ลับคีปู
คำว่าคีปู หมายถึง เชือกหรือปมเงื่อนซึ่งคนเดินหนังสือส่งต่อทอดระหว่างกัน คีปูมิใช่การ เขียนแต่เป็นวิธีที่ใช้ในกระบวนการบันทึกความจำเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆทีสื่อสารระหว่างกันในหมู่ชนเผ่าอินคา เชือกที่ผูกปมเงื่อนยังใช้การนับซึ่งเอาเลข 10 เป็นพื้นฐานด้วย นอกจากนั้นเชือกปมคีปูทั้งหมดต้องมีสัญลักษณ์แทนภาษาพูดและภาษาเขียนด้วย ในการนับมีทั้งสัญลักษณ์แทนเลขศูนย์ จนกระทั่งนับถึงเลขจำนวนพัน
นางห้าม

นางห้ามของชนเผ่าอินคาเรียกว่า"แอคลา"เป็นหญิงโสดที่สาบานตนเป็นข้ารับใช้กษัตริย์ ขุนนาง และบุคคลสำคัญระดับสูง ตั้งแต่อายุ 13 หรือ 14 ปี คัดเลือจากบรรดาหญิงสาวที่สวยที่สุดของชุมชนกลุ่มน้อย แต่ละกลุ่มที่แยกออกไปจากชุมชนใหญ่ ใช้ชีวิตตามลำพัง ลักษณะพิเศษของนางห้ามก็คือ ห้ามสมารถหรือห้ามมีความสัมพันธ์กับชายใด โดยไม่ไดรับอนุญาตจากกษัตริย์ หรือผู้ที่มีอำนาจสูงที่ได้รับมอบหมาย ชายใดที่บังอาจล่วงล้ำเข้าไปในเขตที่พักอาศัยของนางห้ามจะได้รับโทษประหารชีวิตและตระกูลของเขาจะถูกประณามเสื่อมเสียตลอดไปนางห้ามมีลักษณะคล้ายหญิงพรหมจารีที่อุทิศตนกระทำภารกิจต่างๆ
ศาสนาและพิธีกรรมประหลาดของชาวอินคา
ศาสนาของชนเผ่าอินคาเกี่ยวพันกับเทพเจ้าอย่างลึกซึ้งเทพเจ้าที่ชาวอินคาเคารพบูชา มักจะเป็นเทพที่เป็น สัญลักษณ์อำนาจของธรรมชาติโดยเฉพาะดวงอาทิตย์ หรือสุริยเทพที่เรียกว่า "อินติ" เทพีแห่งดวงจันทร์ หรือจันทราเทวี ที่เรียก ว่า "ควิลลา" ชาวอินคาถือว่าบิดาแห่งเทพและเทพีทั้งปวงคือ"เทพวิราโคชา"ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้สร้างโลก เป็นทั้งพระบิดาและพระ มารดาของสุริยเทพและจันทราเทวี เล่ากันว่าเทพวิราโคชาสร้างมนุษย์คนแรกบนโลกด้วยดินเหนียว พิธีเฉลิมฉลองของชาวอินคาใน โอกาสต่างๆมักเกี่ยวพันกับศาสนาเสมอ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ 
พิธีเฉลิมฉลองซีทัว
งานเฉลิมฉลองซีทัวถือว่าเป็นพิธีใหญ่ที่สำคัญต่อชีวิตชาวอินคาทุกคนผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวงจะมีส่วนร่วมโดยนำรูปภาพหรือรูปปั้นที่พวกเขาเคารพนับถือไปไว้ในบ้านที่อยู่ในนครคูซโคสาเหตุที่มีการเฉลิมฉลองเนื่องจากเป็นช่วงเริ่มฤดูฝนทำให้ประชาชนทั่วไปเจ็บไข้ไม่สบายด้วยเหตุนี้จึง ต้องทำพิธีขับไล่สิ่งชั่วร้ายอำนาจปิศาจที่พวกเขาคิดว่าเป็นต้นเหตุ  พิธีเฉลิมฉลองจะกระทำในวันพระจันทร์เต็มดวงโดยเริ่มพิธีในเวลาเที่ยงตรงทุกคนจะไปรวมกันที่ลานหน้าวิหารสุริยเทพและนักบวชชั้นสูงจะนำสวดบูชาสุริยเทพเพื่อให้สุริยเทพขับไล่โรคร้าย และสิ่งชั่วร้ายต่างๆออกไปจากแผ่นดิน
ความเชื่อเกี่ยวกับวิญญาณและพลังที่แอบแฝง
ชาวอินคามีความเชื่อว่า บ้านเรือน สิ่งก่อสร้างหรือวัตถุต่างๆมีพลังลึกลับแฝงอยู่ โดยเฉพาะสถานที่ ต่างๆก็นับว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธ์ และสิ่งเหล่านี้มีชื่อสรุปว่า" ฮัวคา" นอกจากนั้นชาวอินคายังเชื่อว่าไม่เพียงแต่มนุษย์เท่านั้นที่มีวิญญาณอาศัยอยู่ พวกพืชและสัตว์ต่างๆก็มีวิญญาณแฝงอยู่ด้วย ชาวอินคาทั่วไปมีความเชื่อว่าการรักษาศพคนตายไว้ให้ดีราวกับมีชีวิตอยู่เพื่อว่าวิญญาณจะกลับมาสู่ร่างเดิมอีก ชาวอินคาวางมัมมีของคนตายไว้ในบ้านผู้ที่มีฐานะดีจะสร้างรูปปั้นทองคำเล็กๆแทนคนตายไว้หน้ามัมมีศพแต่ละวันจะเซ่นด้วยอาหารต่างๆราวกับว่า คนตายยังมีชีวิตอยู่
มร มรดกล้ำค่าของชาวอินคา แดนมหัศจรรย์มาชู ปิคชู




นิยมเรียกอีกชื่อว่า เมืองสาบสูญแห่งอินคา เป็นซากอารยธรรมโบราณ ของชาวอินคา ตั้งอยูบนเทือกเขาสูงในประเทศเปรู สูงประมาณ 2,350 เมตร สิ่งที่โดดเด่นของมาชู ปิคชูก็คือ ผลงานทางด้านสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะสิ่งก้อสร้างที่เป็น อนุสาวรีย์ขนาดมหึมาที่ก่อสร้างด้วยแท่งหินขนาดใหญ่ วางเชื่อม ต่อกันอย่างสมดุล นับว่าเป็นเรื่องแปลกมากว่าพวกเขาเรียนรู้ เทคโนโลยีการขนย้ายแท่งหินขนาดยักษ์มาเรียงรายต่อกันสูงเป็นชั้นๆ ได้เรียบสนิท โดยไม่ใช้ล้อเลื่อนหรือลูกรอกแต่อย่างใด นับเป็นปริศนาที่ไม่มีใครทราบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน














อ้างอิง
http://www.itplaza.co.th/update_details.php?type_id=7&news_id=24529&page=1